ไฟ ฉุกเฉิน

ไฟฉุกเฉิน

emergency light

คือ อุปกรณ์ให้แสงสว่างสำรองในกรณีที่ไฟฟ้าดับ

ไฟ ฉุกเฉิน จะติดสว่างขึ้นมาอัตโนมัติเมื่อมีเหตุไฟฟ้าดับ เพื่อให้มีแสงสว่างในเวลาไฟดับ

ไฟ ฉุกเฉิน ป้าย ทาง หนี ไฟ exit light ป้าย ทางออก ฉุกเฉิน

ทำงานโดยใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ( ส่วนมากเป็นแบบตะกั่ว-กรด ) ซึ่งจะชาร์จอยู่กับไฟบ้านตลอดเวลา เพื่อให้พร้อมใช้ทุกครั้งเมื่อเกิดไฟดับ

ภายในประกอบด้วยแบตเตอรี่ วงจรชาร์จ หลอดไฟ และสวิตช์อัตโนมัติ ( มักเป็นรีเลย์ หรือทรานซิสเตอร์ ) ในภาวะปกติที่มีไฟฟ้า วงจรชาร์จจะชาร์จไฟแบตเตอรี่ให้มีไฟเต็มอยู่ตลอดเวลา ส่วนสวิตช์อัตโนมัติจะตัดวงจรหลอดไฟไว้ไม่ให้ทำงาน เมื่อเกิดไฟฟ้าดับ วงจรชาร์จจะหยุดทำงาน และสวิตช์อัตโนมัติจะทำการต่อหลอดไฟเข้ากับแบตเตอรี่ ทำให้ไฟฉุกเฉินติดสว่าง เมื่อไฟฟ้ากลับมาใช้ได้อีกครั้ง วงจรชาร์จจะกลับมาทำงาน และสวิตช์อัตโนมัติจะตัดวงจรหลอดไฟออก ไฟ ฉุกฉิน จะดับ

แบตเตอรี่ แห้ง 12v ไฟฉุกเฉิน yuasa np7-12
ไฟ ฉุกเฉิน ป้าย ทาง หนี ไฟ exit light ป้าย ทางออก ฉุกเฉิน

ข้อบังคับ

ในอาคารที่อยู่อาศัย หอพัก คอนโด โรงแรม โรงพยาบาล โรงงาน อพาร์ทเม้นท์ ห้องชุด กฏหมายควบคุมอาคารให้มีการติดตั้ง ไฟฉุกเฉิน เพื่ออำนวยความสะดวกปลอดภัยกับผู้อยู่อาศัย และป้องกันการฉวยโอกาสปล้นจี้ในระหว่างเหตุไฟฟ้าดับอีกด้วย

การใช้งานที่ถูกต้อง

ก่อนใช้งาน

  • ควรศึกษาคู่มือการใช้งานแต่ละยี่ห้อให้เข้าใจ
  • การติดตั้งไฟฉุกเฉิน ควรคำนึงถึงชนิดของแบตเตอรี่ของไฟฉุกเฉินนั้น ๆ เช่นถ้าแบตเตอรี่ แบบเติมน้ำกลั่น ควรจะติดตั้งบริเวณทางเดินหรือที่โล่ง หรือพื้นที่ที่มีการระบายอากาศเป็นอย่างดี เพราะตลอดเวลาที่มีการประจุไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่จะมีไอตะกั่วระเหยออกมาเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ถ้านำไปติดตั้งในห้องที่มีอากาศถ่ายเทไม่เพียงพอ หรือห้องที่เป็นระบบปิด ควรติดตั้งไฟฉุกเฉินแบบชนิดแบตเตอรี่แห้ง

ข้อควรระวังในการติดตั้ง

ไม่ควรติดตั้งไฟฉุกเฉินติดกับผนังที่ รับความร้อนสูง เพราะจะทำให้อายุของแบตเตอรี่เสื่อมเร็วกว่าปกติและในห้องที่มีความชื้นสูง เช่นห้องเย็น ทำให้ตัวสินค้าเกิดสนิม และลัดวงจรเนื่องจากความชื้น

ระหว่างการใช้งาน

  • ถ้าเป็นแบตเตอรี่แบบเติมน้ำกลั่นต้องตรวจสอบระดับน้ำกลั่นทุก ๆ 1 เดือน
  • ทดสอบการใช้งานว่าเครื่องสามารถใช้งานได้ตามปกติหรือไม่โดยกดปุ่ม test ทุก ๆ 1 เดือน ว่าหลอดไฟติดหรือไม่ ถ้าเป็นรุ่นที่ไม่มีปุ่ม test ให้ถอดปลั๊กไฟฟ้า
  • ถ้าไฟดับในเวลากลางวัน แล้วมีใครปิดสวิทซ์ เพื่อไม่ให้หลอดไฟสว่างเมื่อไฟฟ้าจ่ายเป็นปกติ แล้วให้เปิดสวิทซ์เพราะมิเช่นนั้น ไฟฉุกเฉินจะไม่ประจุไฟเข้าแบตเตอรี่
  • ควรให้แบตเตอรี่มีการคายประจุไฟฟ้าจนหมดเพื่อยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่โดยเปิด เครื่องทิ้งไว้ประมาณ 6 เดือนต่อครั้ง

ข้อควรระวังในการใช้งาน

  • ไม่ควรติดตั้งไฟฉุกเฉินชนิดแบตเตอรี่แบบเติมน้ำกลั่น ไว้บริเวณที่มีอากาศถ่ายเทไม่ดีเพราะจะทำ ให้ไอตะกั่วระเหยกระจายในอากาศ เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ
  • การติดตั้งไฟฉุกเฉิน ต้องมั่นคงแข็งแรง เพราะแบตเตอรี่จะมีน้ำหนักมากอาจจะร่วงหล่นเป็นอันตรายได้
  • ควรเสียบปลั๊กไฟฟ้าเพื่อประจุไฟฟ้าให้แบตเตอรี่เต็มอยู่เสมอ พร้อมใช้งานตลอดเวลาเมื่อไฟฟ้าปกติดับ

การบำรุงรักษา

  • ทำความสะอาดดวงโคม ทุก 2 สัปดาห์
  • ตรวจสอบระดับน้ำกลั่น เติมน้ำกลั่น ทุก 1 เดือน
  • ทดสอบการทำงานของเครื่อง test เครื่อง ทุก ๆ 1 เดือน
  • คายประจุแบตเตอรี่ให้หมด ทุก ๆ 6 เดือน

แบตเตอรี่ ไฟฉุกเฉิน

  • ทั่วไปจะมีอายุการใช้งานประมาณ 2 ปี ซึ่งพอหลังจาก 2 ปี ไปแล้ว แบตเตอรี่ จะค่อยๆ เสื่อมสภาพลง เช่น เก็บไฟได้น้อยลง ชาร์จไฟไม่เข้า แบตเตอรี่ไฟฉุกเฉินปวม หรือมีคราบเกลือเกาะ จำเป็นต้องเปลี่ยน แบตเตอรี่ ไฟ ฉุกเฉิน ใหม่
  • ป้องกันไม่ให้ไฟฉุกเฉิน เสียหาย และพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา เมื่อเกิดไฟดับ

SUNNY

MAX BRIGHT

Delight

PANASONIC

SafeGuard


แบตเตอรี่ รถยนต์ ส่งถึงรถ buybatt


แบตเตอรี่ รถยนต์ ส่งถึงรถ buybatt


แบตเตอรี่ รถยนต์ ส่งถึงรถ buybatt


แบตเตอรี่ รถยนต์ ส่งถึงรถ buybatt

🤞 Don’t miss these tips!

We don’t spam! Read more in our privacy policy

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save