ไฟ ฉุกเฉิน

ไฟฉุกเฉิน

emergency light

คือ อุปกรณ์ให้แสงสว่างสำรองในกรณีที่ไฟฟ้าดับ

ไฟ ฉุกเฉิน จะติดสว่างขึ้นมาอัตโนมัติเมื่อมีเหตุไฟฟ้าดับ เพื่อให้มีแสงสว่างในเวลาไฟดับ

ไฟ ฉุกเฉิน ป้าย ทาง หนี ไฟ exit light ป้าย ทางออก ฉุกเฉิน

ทำงานโดยใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ( ส่วนมากเป็นแบบตะกั่ว-กรด ) ซึ่งจะชาร์จอยู่กับไฟบ้านตลอดเวลา เพื่อให้พร้อมใช้ทุกครั้งเมื่อเกิดไฟดับ

ภายในประกอบด้วยแบตเตอรี่ วงจรชาร์จ หลอดไฟ และสวิตช์อัตโนมัติ ( มักเป็นรีเลย์ หรือทรานซิสเตอร์ ) ในภาวะปกติที่มีไฟฟ้า วงจรชาร์จจะชาร์จไฟแบตเตอรี่ให้มีไฟเต็มอยู่ตลอดเวลา ส่วนสวิตช์อัตโนมัติจะตัดวงจรหลอดไฟไว้ไม่ให้ทำงาน เมื่อเกิดไฟฟ้าดับ วงจรชาร์จจะหยุดทำงาน และสวิตช์อัตโนมัติจะทำการต่อหลอดไฟเข้ากับแบตเตอรี่ ทำให้ไฟฉุกเฉินติดสว่าง เมื่อไฟฟ้ากลับมาใช้ได้อีกครั้ง วงจรชาร์จจะกลับมาทำงาน และสวิตช์อัตโนมัติจะตัดวงจรหลอดไฟออก ไฟ ฉุกฉิน จะดับ

แบตเตอรี่ แห้ง 12v ไฟฉุกเฉิน yuasa np7-12
ไฟ ฉุกเฉิน ป้าย ทาง หนี ไฟ exit light ป้าย ทางออก ฉุกเฉิน

ข้อบังคับ

ในอาคารที่อยู่อาศัย หอพัก คอนโด โรงแรม โรงพยาบาล โรงงาน อพาร์ทเม้นท์ ห้องชุด กฏหมายควบคุมอาคารให้มีการติดตั้ง ไฟฉุกเฉิน เพื่ออำนวยความสะดวกปลอดภัยกับผู้อยู่อาศัย และป้องกันการฉวยโอกาสปล้นจี้ในระหว่างเหตุไฟฟ้าดับอีกด้วย

การใช้งานที่ถูกต้อง

ก่อนใช้งาน

  • ควรศึกษาคู่มือการใช้งานแต่ละยี่ห้อให้เข้าใจ
  • การติดตั้งไฟฉุกเฉิน ควรคำนึงถึงชนิดของแบตเตอรี่ของไฟฉุกเฉินนั้น ๆ เช่นถ้าแบตเตอรี่ แบบเติมน้ำกลั่น ควรจะติดตั้งบริเวณทางเดินหรือที่โล่ง หรือพื้นที่ที่มีการระบายอากาศเป็นอย่างดี เพราะตลอดเวลาที่มีการประจุไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่จะมีไอตะกั่วระเหยออกมาเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ถ้านำไปติดตั้งในห้องที่มีอากาศถ่ายเทไม่เพียงพอ หรือห้องที่เป็นระบบปิด ควรติดตั้งไฟฉุกเฉินแบบชนิดแบตเตอรี่แห้ง

ข้อควรระวังในการติดตั้ง

ไม่ควรติดตั้งไฟฉุกเฉินติดกับผนังที่ รับความร้อนสูง เพราะจะทำให้อายุของแบตเตอรี่เสื่อมเร็วกว่าปกติและในห้องที่มีความชื้นสูง เช่นห้องเย็น ทำให้ตัวสินค้าเกิดสนิม และลัดวงจรเนื่องจากความชื้น

ระหว่างการใช้งาน

  • ถ้าเป็นแบตเตอรี่แบบเติมน้ำกลั่นต้องตรวจสอบระดับน้ำกลั่นทุก ๆ 1 เดือน
  • ทดสอบการใช้งานว่าเครื่องสามารถใช้งานได้ตามปกติหรือไม่โดยกดปุ่ม test ทุก ๆ 1 เดือน ว่าหลอดไฟติดหรือไม่ ถ้าเป็นรุ่นที่ไม่มีปุ่ม test ให้ถอดปลั๊กไฟฟ้า
  • ถ้าไฟดับในเวลากลางวัน แล้วมีใครปิดสวิทซ์ เพื่อไม่ให้หลอดไฟสว่างเมื่อไฟฟ้าจ่ายเป็นปกติ แล้วให้เปิดสวิทซ์เพราะมิเช่นนั้น ไฟฉุกเฉินจะไม่ประจุไฟเข้าแบตเตอรี่
  • ควรให้แบตเตอรี่มีการคายประจุไฟฟ้าจนหมดเพื่อยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่โดยเปิด เครื่องทิ้งไว้ประมาณ 6 เดือนต่อครั้ง

ข้อควรระวังในการใช้งาน

  • ไม่ควรติดตั้งไฟฉุกเฉินชนิดแบตเตอรี่แบบเติมน้ำกลั่น ไว้บริเวณที่มีอากาศถ่ายเทไม่ดีเพราะจะทำ ให้ไอตะกั่วระเหยกระจายในอากาศ เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ
  • การติดตั้งไฟฉุกเฉิน ต้องมั่นคงแข็งแรง เพราะแบตเตอรี่จะมีน้ำหนักมากอาจจะร่วงหล่นเป็นอันตรายได้
  • ควรเสียบปลั๊กไฟฟ้าเพื่อประจุไฟฟ้าให้แบตเตอรี่เต็มอยู่เสมอ พร้อมใช้งานตลอดเวลาเมื่อไฟฟ้าปกติดับ

การบำรุงรักษา

  • ทำความสะอาดดวงโคม ทุก 2 สัปดาห์
  • ตรวจสอบระดับน้ำกลั่น เติมน้ำกลั่น ทุก 1 เดือน
  • ทดสอบการทำงานของเครื่อง test เครื่อง ทุก ๆ 1 เดือน
  • คายประจุแบตเตอรี่ให้หมด ทุก ๆ 6 เดือน

แบตเตอรี่ ไฟฉุกเฉิน

  • ทั่วไปจะมีอายุการใช้งานประมาณ 2 ปี ซึ่งพอหลังจาก 2 ปี ไปแล้ว แบตเตอรี่ จะค่อยๆ เสื่อมสภาพลง เช่น เก็บไฟได้น้อยลง ชาร์จไฟไม่เข้า แบตเตอรี่ไฟฉุกเฉินปวม หรือมีคราบเกลือเกาะ จำเป็นต้องเปลี่ยน แบตเตอรี่ ไฟ ฉุกเฉิน ใหม่
  • ป้องกันไม่ให้ไฟฉุกเฉิน เสียหาย และพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา เมื่อเกิดไฟดับ

SUNNY

MAX BRIGHT

Delight

PANASONIC

SafeGuard


แบตเตอรี่ รถยนต์ ส่งถึงรถ buybatt


แบตเตอรี่ รถยนต์ ส่งถึงรถ buybatt


แบตเตอรี่ รถยนต์ ส่งถึงรถ buybatt


แบตเตอรี่ รถยนต์ ส่งถึงรถ buybatt

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save